Machining Center หรือ เครื่องกัด ที่มีอุปกรณ์เปลี่ยน Tools แบบอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่มีความจำเป็นมากต่ออุตสาหกรรมในประเทศไทย เนื่องจากเครื่องกัดแบบ Machining Center สามารถใช้งานได้ครบเครื่องมากกว่าด้วยการสั่งการเพียงครั้งเดียว ลดการทำงานซ้ำซ้อนและแรงงานคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแข่งขันสูง ทั้งแง่คุณภาพ ประสิทธิภาพ และความรวดเร็ว ที่เครื่องกัด Machining Center ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก โดยการทำงานของเครื่องกัดเองก็มีความแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของเครื่อง ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทเครื่องกัด Machining Center ได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
เครื่องกัดแบบ 3 แกน ( 3 Axis Machining Center )
เครื่องกัดแบบ 3 แกน คือเครื่องกัดที่สามารถเคลื่อนแกนแนวตรงได้ตามแนวแกน X Y และ Z โดยจะตั้งใบมีดเป็นแนวตรงอยู่ที่เดิมเพื่อทำการกัดชิ้นงานให้ได้รูปร่างต้องการ
รวมถึงเครื่องกัด Machining สามแกนนั้นสามารถเจาะ คว้าน เก็บรูปแบบชิ้นงานได้อย่างเรียบร้อยโดยไม่ต้องมีการหยุดเครื่องเพื่อเปลี่ยนเครื่องมือ เนื่องจากเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ เพียงสั่งการครั้งเดียวก็ได้ชิ้นงานที่ต้องการในทันที
ตัวอย่างของการใช้งานเครื่องกัดแบบ 3 แกน เช่น ชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ต่างๆ หรืออุปกรณ์อุตสาหกรรมภายในโรงงาน เป็นต้นซึ่งเครื่องกัดแบบ 3 แกนก็ยังมีขีดจำกัดในการทำมุมโค้ง การเก็บงานในส่วนเฉียงที่อาจทำได้ลำบากดังนั้น เครื่องกัดแบบ 5 แกนจึงถูกพัฒนาขึ้น
เครื่องกัดแบบ 5 แกน (5 Axis Machining Center)
เครื่องกัดแบบ 5 แกนถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยแนวคิดที่ต้องการสร้างงานที่ซับซ้อนมากขึ้นและมีความเรียบร้อยมากขึ้น
นอกจากการเคลื่อนที่ในแนวแกน X Y และ Z แล้ว เครื่องกัด Machining Center ยังเพิ่มการทำงานของแกนหมุนเข้าไป เพื่อสร้างพื้นผิวประเภทโค้งมน กลม ด้วยการเอียงชิ้นงานให้สอดคล้องกับการทำงานของใบมีดตลอดเวลา ซึ่งเครื่องกัด Machining Center จะสามารถแบ่งได้ตามแกนจับยึดชิ้นงานและใบมีด ซึ่งสามารถแบ่งได้ 6 ประเภทดังนี้
ตัวอย่างการใช้งานเครื่องกัดแบบ 5 แกน เช่น ใบพัดเครื่องบิน ชิ้นส่วนของเครื่องบิน ชิ้นส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างๆ ที่มีความซับซ้อนสูงและต้องใช้การคำนวณที่ละเอียดอ่อน
เครื่องกัด Machining Center เป็นเครื่องจักรที่มีความสามารถที่รอบด้าน ครบครัน แต่ผู้ใช้งานควรเลือกชนิดของเครื่องกัดให้ดี และมีการใช้งานที่เหมาะสม
เครื่องกัดชนิด 3 แกน เหมาะสำหรับงานที่เป็นรูปทรงค่อนข้างเรียบ ไม่มีการบิดเกลียว บิดโค้งมาก เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวบางจุด
เครื่องกัดชนิด 5 แกน เหมาะสำหรับงานละเอียด รูปทรงโค้งมน พื้นผิวเรียบ เช่นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ละเอียดอ่อน