Drilling Machine
เครื่องเจาะ
Drilling Machines
เครื่องเจาะสามารถทำงานได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเจาะรูทั่วไป การเจาะรูเพื่อทำเกลียว และการเจาะรู ช่วยในการขึ้นรูป เป็นต้น แม้เครื่องเจาะจะมีอีกหลากหลาย แต่ในที่นี้ จะกล่าวถึงเครื่องเจาะโดยพื้นฐานที่ควรรู้
ชนิดของเครื่องเจาะ เครื่องเจาะสามารถ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
- เครื่องเจาะแบบตั้งโต๊ะ
- เครื่องเจาะแบบตั้งพื้น
- เครื่องเจาะแบบรัศมี
1. เครื่องเจาะแบบตั้งโต๊ะ
เครื่องเจาะแบบตั้งโต๊ะ เป็นเครื่องเจาะไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่สามารถเจาะรูขนาดเล็ก และมีโต๊ะรองรับเพื่อเพิ่มความสูงของระดับการเจาะชิ้นงาน
1.1ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเจาะตั้งโต๊ะ
- ฐานเครื่อง Base ทำด้วยเหล็กหล่อ เป็นส่วนที่รองรับน้้ำหนักทั้งหมดของเครื่องจะยึดแน่นบนโต๊ะป้องกันการสั่นสะเทือนในขณะปฏิบัติงาน
- เสาเครื่องเจาะ Column ทำด้วยเหล็กทรงกระบอกกลวง เป็นส่วนที่ยึดติดกับฐานเครื่อง เพื่อรองรับชุดหัวเครื่องและรองรับโต๊ะงาน
- โต๊ะงาน Table ส่วนใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อ เป็นส่วนที่รองรับชิ้นงานที่จะมาเจาะ หรืออุปกรณ์จับยึดอื่นๆ เช่น ปากกาจับงาน เป็นต้นสามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลง และหมุนไปซ้าย-ขวาได้
- ชุดหัวเครื่อง Drilling Head อยู่บนสูงสุดของเครื่องเจาะ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- มอเตอร์ส่งกำลัง
- สาพานและล้อสายพานส่งกำลัง
- ฝาครอบ
- หัวจับดอกสว่าน
- แขนหมุนป้อนเจาะ
- สวิตช์ปิดเปิด (Switch)
2. เครื่องเจาะแบบตั้งพื้น
เป็นเครื่องเจาะใหญ่กว่าเครื่องเจาะตั้งโต๊ะ สามารถเจาะรูได้ขนาดที่ใหญ่กว่า
2.2 ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเจาะตั้งพื้น
- ฐานเครื่อง Base ทำด้วยเหล็กหล่อ เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่องจะวางอยู่พื้นโรงงาน
- เสาเครื่องเจาะ จะเป็นเหล็กรูปทรงกระบอกกลวง เป็นส่วนที่ยึดติดกับฐานเครื่อง เป็นส่วนที่รองรับชุดหัวเครื่องและรองรับโต๊ะงาน
- โต๊ะงาน ตั้งยึดติดกับเสาอยู่ระหว่างกลางของฐานและหัวเครื่อง ทำหน้าที่รองรับชิ้นงานที่จะเจาะ หรือรองรับอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน เช่นปากกา เป็นต้น
- ชุดหัวเครื่อง เป็นส่วนที่ตั้งอยู่บนสุดของเครื่องเจาะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
- มอเตอร์ส่งกำลัง
- ระบบส่งกำลัง ประกอบด้วย เฟือง สายพาน และคันโยกบังคับความเร็ว
- ฝาครอบ
- แกนเพลา
- แขนหมุนป้อนเจาะ
- แกนตั้งระยะป้อนเจาะ
- สวิตช์เปิด-ปิด
3. เครื่องเจาะแบบรัศมี Radial Drilling
เป็นเครื่องเจาะขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม มีระบบการเจาะที่ละเอียด สามารถหาตำแหน่งเจาะได้สะดวก เคลื่อนเพลาแกนเจาะที่มีหัว จับดอกสว่านและดอกสว่านไปยังตำแหน่งเจาะได้เลย โดยการเคลื่อนไปตามแขนรัศมี สามารเลื่อนขึ้นลงตามเสาเครื่อง การเคลื่อนที่จะ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ เหมาะสำหรับการเจาะรูจำนวนมาก
3.3 ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเจาะแบบรัศมี
- ฐานเครื่อง
- เสาเครื่อง
- แขนรัศมี
- ชุดหัวเครื่อง
- แกนเพลา
- โต๊ะงาน
- มอเตอร์
- สวิตช์เปิด-ปิด
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องเจาะ
ดอกสว่าน
ดอกสว่าน เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้เจาะรูบนชิ้นงานให้ได้ขนาดตามความต้องการ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก และสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- ดอกสว่านก้านตรง เป็นสว่านที่มีขนาดเหล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ½ นิ้ว หรือ 12.7 มม. เวลาใช้งานจะต้องจับด้วยหัวจับดอกส่วน
- ดอกสว่านก้านเรียว เป็นสว่านที่มีขนาดใหญ่ จะมีขนาดมากกว่า ½ นิ้วหรือ 12.7 มม. ขึ้นไป ตรงก้านเรียวเป็นเรียวมาตรฐานมอส เวลาใช้งานจะ สวมเข้ากับรูเรียวของเครื่องเจาะ
อุปกรณ์จับยึดที่ใช้กับเครื่องเจาะ
- ปากกาจับงาน
- หัวจับดอกสว่าน
- ปลอกเรียว
- ปลอกเรียวลดระดับ
- เหล็กถอดดอกสว่าน
ขั้นตอนการทำงานเครื่องเจาะ
- ศึกษาวิธีการใช้เครื่องเจาะให้เข้าใจ
- นำชิ้นงานมาร่างแบบให้ได้ที่ถูกต้อง
- นำชิ้นงานนำจับยึดบนเครื่องเจาะให้แน่น
- นำดอกสว่านที่ต้องเจาะจับยึดบนเครื่องเจาะ
- ปรับระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับปลายดอกสว่านให้เหมาะสมพร้อมปรับตำแหน่งที่จะเจาะให้ตรงตำแหน่ง
- ปรับความเร็วรอบให้ถูกต้อง
- ทำการป้อนเจาะงานตามความลึกที่ต้องการเจาะ
การบำรุงรักษาเครื่องเจาะ
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เสมอ
- ตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา
- ก่อนใช้งานต้องหยอดน้ำมันหล่อลื่นในส่วนที่เคลื่อนที่
- ควรมีแผนการบำรุงรักษาเป็นระยะตามระยะเวลาที่กำหนด
- หลังเลิกใช้งานทำความสะอาดและชโลมด้วยน้ำมัน
ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจาะ
- ตรวจดูความพร้อมของเครื่องเจาะก่อนใช้เสมอ
- จับยึดชิ้นงานให้แน่น และถูกวิธี
- ศึกษาขั้นตอน วิธีการใช้เครื่อง และการทำงานให้ถูกต้อง
- แต่งกายให้รัดกุมถูกต้องตามกฎความปลอดภัย
- สวมแว่นตาป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา