อย่างแรกที่เราควรรู้กันนะคะ คือ การกลึงคืออะไร
การกลึง คือ หนึ่งในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ที่ต้องการให้เปลี่ยนรูปร่างให้เป็นไปตามความต้องการ โดยใช้รูปแบบการ กัด เซาะ ไส กลึง ปาด ปลอก หรืออาจจะแตกต่างกันไปลักษณะงานของชิ้นงานนั้น ๆ ชิ้นงานที่ผลิตขึ้นโดยระบบงานกลึง หรือขั้นตอนการกลึงจะถูกผลิตกลึงตามแบบ
การกลึงมีสองลักษณะ คือ
1.การกลึงปาดหน้า เป็นการตัดชิ้นงานไปตามแนวขวางของวัตถุที่ทำงานกลึง จะใช้ใบมีดปาดผิวหน้าของวัตถุหรือชิ้นงาน ส่วนใบมีดจะขยับขึ้นลงไปแนวในแนวใดแนวหนึ่ง ความตื้นลึกหนาบางขึ้นอยู่กับใบมีด
2. การกลึงปอก คือ การเคลื่อนมีดตัดไปตามแนวขนาน กับแนวแกนของชิ้นงาน
1.เครื่องกลึงที่ควบคุมการทำงานด้วยมือ หรือเครื่องกลึง manual
เครื่องกลึงทำอะไรได้บ้างเครื่องกลึง Manual มีการควบคุมแบบ manual ป้อนเครื่องมือตัดโดยใช้มือหมุน (Hand Wheel) หมุุนเคลื่อนเครื่องมือตัดเข้าตัดชิ้นงานในแกนต่างๆ ตามระยะต้องการ
ส่วนประกอบของเครื่องกลึง Manual
เครื่องกลึงแบบ manual แบ่งส่วนประกอบหลักๆ ออกได้ดังนี้
1) ฐาน (Bed) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับชิ้นส่วนทั้งหมดของเครื่องกลึง ฐานของเครื่องกลึงทำจากเหล็กหล่อซึ่งมีคุณสมบัติในการรองรับน้ำหนักได้ดี
2) หัวเครื่อง (Head Stock) หัวเครื่องประกอบด้วยชุดรับส่งกำลังจากมอเตอร์ ทำหน้าที่รับกำลังจากมอเตอร์หลักของเครื่องส่งถ่ายที่แกนเพลาหลักของเครื่อง (main spindle)
3) มอเตอร์หลัก (Main Motor) ทำหน้าที่ในการหมุนและส่งกำลังผ่านระบบขับเครื่องของเครื่องกลึง ไปจนถึงเพลาหลักของเครื่องกลึง
4) เพลาหลัก (Main Spindle) จะยึดติดกับหัวจับชิ้นงานรับกำลังมาจากมอเตอร์หลัก ส่งกำลังผ่านระบบขับเคลื่อนๆ ต่างๆ. ความเร็วในการหมุนของเพลาหลักสามารถปรับเปลียนได้แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระบบส่งกำลังที่ออกแบบมา ซึ่งจะสามารถปรับได้เป็นขั้นๆ
ลักษณะการทำงาน
มอเตอร์หลัก : ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังในการหมุน
มูเล่ย์ : ทำหน้าที่เป็นตัวรับและส่งกำลังในระบบสายพาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมู่เลย์จะสัมพันธ์กับความเร็วของเพลาหลัก
สายพาน : จะประกอบอยู่กับชุดของมู่เลย์ช่วยในการส่งกำลัง
เฟือง : นอกจากสายพานแล้ว เฟืองยังเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญมากในการส่งกำลังๆ หลายชนิด เช่นเฟืองตรง
เพลาขับหรือเพลาหลัก : ยึดติดอยู่กับเพลาหลัก
2.เครื่องกลึงที่ควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือ เครื่องกลึง CNC
เครื่องกลึงทำอะไรได้บ้างเครื่องกลึง CNC คือเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ทำงานได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการผลิตชิ้นส่วนวัสดุให้ได้ขนาดและรูปทรงตามที่ต้องการด้วยการกลึง เหมาะสำหรับงานกลึงที่ต้องการความละเอียดหรือมีความซับซ้อนสูง
ยิ่งไปกว่านั้น เพราะการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องกลึง CNC สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของเครื่องจักรแบบเดิมๆ ได้ ทั้งความละเอียดในการควบคุมที่ละเอียดถึง 0.001 mm. รวมถึงสามารถควบคุมเครื่องกลึงได้หลายเครื่องในคราวเดียว ทำให้นอกจากความละเอียดแล้ว เรายังสามารถได้ชิ้นงานหลายชิ้นด้วยความรวดเร็วอีกด้วย
โครงสร้างพื้นฐานของเครื่องกลึง CNC
1. ระบบขับเคลื่อน ประกอบด้วยสองระบบหลัก คือ ระบบส่งกำลังหลักและระบบขับเคลื่อนแกน
2. ระบบจับยึด ระบบจับยึดของเครื่องกลึง CNC มีสองส่วน คือส่วนที่ใช้จับยึดชิ้นงาน และส่วนที่ใช้จับยึดเครื่องมือ
3. ระบบตรวจวัด ระบบตรวจวัดสำหรับเครื่อง CNC จะมีการติดตั้ง Linear Scale ซึ่งคืออุปกรณ์ตรวจวัด
4. ระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่ระบบไฟฟ้าของเครื่องกลึง CNC จะเป็นระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 380 โวลต์เป็นหลัก ยกเว้นเป็นเครื่องแบบ MINI CNC ที่จะใช้ไฟฟ้าแบบ 220 โวลต์
5. ระบบควบคุม เครื่องกลึง CNC จะมีการควบคุมการทำงานทั้งหมดผ่านคอมพิวเตอร์ โดยจะอาศัย G Code และ M Code ในการป้อนข้อมูล ซึ่งสามารถควบคุมได้ตั้งแต่การเคลื่อนที่ง่ายๆ ไปจนถึงการปรับรายละเอียดการกลึง
การทำงานเบื้องต้นของเครื่องกลึง CNC
หลักการทำงานของเครื่องกลึง CNC นั้นมีความแตกต่างจากเครื่องกลึงแบบอื่นๆ เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เราต้องพึ่งพาผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาเครื่องจักร หรือโปรแกรมต่างๆ มากพอสมควร โดยมีการทำงานดังนี้
ผู้ใช้ป้อนคำสั่งลงในระบบโดยใช้คำสั่งที่เครื่องกลเข้าใจ (G Code, M Code) ผ่านทางแป้นพิมพ์ หรืออุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่นๆ เช่น G00 X15 Y30 คือ คำสั่งให้เครื่องมือตัด (Cutting Tool) เคลื่อนที่ไปในตำแหน่ง X = 15 และ Y = 30 จากจุด 00
คำสั่งจะถูกส่งผ่านระบบควบคุมผ่านไปยังมอเตอร์และเครื่องขยายสัญญาณ เพื่อให้มีระดับสัญญาณเพียงพอทุกส่วนได้
มอเตอร์ที่ได้รับคำสั่งดำเนินการเคลื่อนที่แท่นเลื่อนไปตามที่ค่าที่กำหนดไว้ข้างต้น รวมถึงควบคุมความเร็วของการหมุนให้เหมาะสม
ระบบวัดขนาดจะส่งสัญญาณไปทางระบบควบคุม ว่าต้องมีการเคลื่อนเครื่องตัดที่ไปในแนวไหน ระยะทางเท่าใด หากเป็นการทำงานละเอียดอาจมีการโปรแกรมอุปกรณ์การตัดชิ้นงานเอาไว้ เพื่อการทำงานที่ไหลลื่นมากขึ้น
เครื่องจักรดำเนินการทำงานตามคำสั่งที่ป้อนไว้
ข้อดีของเครื่องกลึงแต่ละแบบ
เครื่องกลึง CNC มีข้อดีดังนี้
1.ได้งานที่มีความละเอียด มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเครื่องกลึง CNC มีการตรวจวัดระยะและควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้มีความละเอียดสูงกว่าการทำด้วยมือ
2.ได้งานที่มีมาตรฐาน คุณภาพเท่ากันเสมอ เพราะเครื่องกลึง CNC ไม่มีอาการเหนื่อย แรงตก หรือการกะระยะผิดพลาดจากเดิม
3.ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย สามารถทำงานได้หลากหลาย การทำงานด้วยเครื่องกลึง CNC หลักๆ ใช้เพียงคนเขียนคำสั่งเพื่อทำการผลิตชิ้นงานเท่านั้น ซึ่งสามารถควบคุมความหลากหลาย รวมถึงความละเอียดได้โดยการใช้โปรแกรมลดการใช้แรงงานในการผลิต การใช้แรงงานคนกับเครื่อง CNC หลักๆ จะมีเพียงผู้เขียนโปรแกรมหรือผู้ป้อนคำสั่งเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญการกลึงก็สามารถทำงานละเอียดอ่อนได้
4.ลดเวลาในการผลิต การเขียนโปรแกรมกำหนดการทำงานเพียงโปรแกรมเดียวสามารถใช้ได้กับเครื่อง CNC มากกว่า 1 เครื่อง ทำให้สามารถทำหลายๆงานในเวลาเดียวกันได้
เครื่องกลึง manual มีข้อดีดังนี้
1. งานไม่ซับซ้อน และจำนวนน้อยเครื่องกลึง manual จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เครื่่องประเภท CNC
2. เครื่องกลึงแบบ Manual จะคล่องตัวกว่าและยังเป็นที่นิยมใช้อย่างแผร่หลาย
3. เครื่องกลึงแบบ Manual จะมีราคาต่ำกว่าเครื่องกลึง CNC
สุทอง แมชชีนเนอรี่
ดำเนินการธุรกิจนำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมงานโลหะ
เครื่อง CNC และ Cobot (Collaborative Robot) ครบวงจร
● สามารถเข้าชมเครื่องจักรได้ที่โชว์รูม สุทอง แมชชีนเนอรี่
● เวลาเปิดทำการ : จันทร์-เสาร์ (8.00-17.00 น.) โทร 02-896-1818
● ติดตามข่าวสารได้ที่แฟนเพจ : https://www.facebook.com/suthong1990
#เครื่องกลึง #เครื่องกลึงCNC #เครื่องกลึงManual #นำเข้าเครื่องจักร #เครื่องจักรไต้หวัน #lathe #machinery