การตัดเฉือนโลหะคืออะไร ประเภทและเครื่องมือเครื่องจักร
การตัดเฉือนโลหะ
เราจะอธิบายเบื้องต้นว่าการตัดเฉือนคืออะไร และประเภทของการตัดเฉือนที่ใช้บ่อยที่สุดและเครื่องมือที่สำคัญ
เครื่องจักรคืออะไร?
การตัดเฉือนคือการผลิตวัสดุให้มีรูปร่างและขนาดตามต้องการ โดยทั่วไปแล้วการตัดเฉือนหมายถึงงานโลหะ อย่างไรก็ตาม ก็สามารถใช้อ้างอิงถึงการผลิตไม้ พลาสติก เซรามิก หิน และวัสดุอื่นๆได้อีกเช่นกัน
หากมีวัตถุดิบที่ต้องการขึ้นรูปเป็นรูปร่าง คุณจะต้องใช้กระบวนการตัดเฉือนเพื่อขึ้นรูปวัตถุดิบนั้น เช่นตัวอย่างของงานเครื่องจักรกล ได้แก่ น็อตและสลักเกลียว ชิ้นส่วนรถยนต์ หน้าแปลน ดอกสว่าน แผ่นโลหะ และเครื่องมือและรายการอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท
ประเภทของการตัดเฉือน
การตัดเฉือนมีสามประเภทหลัก ได้แก่ การกลึง การกัด และการเจาะ มีกระบวนการอื่นๆ ที่จัดอยู่ในประเภทของการตัดเฉือนเช่นกัน แต่เมื่อพูดถึงกระบวนการตัดเฉือนสมัยใหม่ การกลึง การกัด และการเจาะจะครอบคลุมส่วนใหญ่
การกลึง
การกลึงหมายถึงการตัดเฉือนโดยที่เครื่องมือหมุนตัดกับเครื่องมือที่โกนหรือตัดวัตถุดิบ การกลึงอาจดูเหมือนการใช้เครื่องกลึงมาก (ซึ่งถือว่าเป็นการกลึงประเภทหนึ่งสำหรับงานไม้) แต่ไม่เหมือนเครื่องกลึงตรงที่การกลึงไม่ต้องใช้คนควบคุมเครื่องมือ คอมพิวเตอร์สามารถเรียกใช้เครื่องมือที่จะกำหนดรูปร่างของวัสดุที่กลึงได้ ทำให้มีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น
การเจาะ
การเจาะเป็นกระบวนการตัดเฉือนที่มีการเจาะรูเข้าไปในวัตถุดิบ ดอกสว่านมาตรฐานเป็นหนึ่งในประเภทการตัดเฉือนที่คลาสสิกที่สุด แต่แนวทางปฏิบัติและเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้การเจาะมีความก้าวหน้ามากกว่าแท่นเจาะที่ควบคุมโดยคนงาน คอมพิวเตอร์สามารถควบคุมการเลือกดอกสว่านและเครื่องมือตัดเพื่อสร้างรูที่ซับซ้อนในวัสดุ
การกัด
การกัดเป็นกระบวนการที่ตัดรูในวัสดุโดยใช้เครื่องมือหมุนแทนที่จะหมุนวัสดุกับเครื่องมือตัดแบบอยู่กับที่ เช่น การกลึง การกัดจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมเครื่องมือตัดแบบหมุนกับวัสดุที่ถูกหนีบ เครื่องมือสำหรับการกัดแตกต่างจากการเจาะตรงที่อนุญาตให้ตัดรูปร่างต่างๆ ได้ เช่น การตัดวัตถุดิบออกเป็นครึ่งๆ หรือเพิ่มการตัดที่ไม่ซ้ำกัน

เครื่องมือในการตัดเฉือน
มีเครื่องมือตัดเฉือนให้เลือกมากมายซึ่งทำงานตัดเฉือนได้หลากหลาย เครื่องมือสำหรับการตัดเฉือนประเภทหลัก ได้แก่ เครื่องมือกลึง เครื่องมือกัด เครื่องมือเจียร เครื่องมือตัด เครื่องมือเจาะ และเครื่องมือคว้าน แม้ว่าจะมีเครื่องมือตัดเฉือนจำนวนมากขึ้น แต่เครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่พบมากที่สุดจากการตัดเฉือนแบบคลาสสิก

เครื่องมือในกลึง
- หัวจับ(Chuck)มีประโยชน์มากสำหรับการกลึง หัวจับนี้มีไว้จับชิ้นงานทำให้สามารถทำงานได้สะดวก โดยหัวจับจะมีด้วยกันหลากหลายแบบด้วยกันและสามารถเลือกใช้ได้ตามการใช้งานของแต่ละประเภท
- จานพาน(Drive Plate)ใช้ร่วมกับยันศูนย์และห่วงพาเพื่อส่งกำลังให้ชิ้นงานหมุนสำหรับกลึงงาน
- หน้าจาน(Face Plate)ใช้สำหรับจับยึดชิ้นงานที่มีรูปทรงแปลกๆ หรือจับยึดชิ้นงานที่ใหญ่
- กันสะท้าน (Rest)ใช้สำหรับประคองชิ้นงานที่ยาวๆ ป้องกันชิ้นงานโก่งงอ จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือแบบ 2 ขา, และ 3 ขา
- ยันศูนย์ (Center)เป็นอุปกรณ์สำหรับประคองชิ้นงานให้ได้ศูนย์ป้องกันการแกว่งของชิ้นงานโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือยันศูนย์เป็น(ยันศูนย์เป็นจะหมุนตามชิ้นงาน)และ ยันศูนย์ตาย
- ห่วงพา(Lathe Dog)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับจานพาน เป็นตัวพาชิ้นงานหมุน
- ด้ามมีดกลึง(Tool Holder)เป็นด้านมีดที่ใช้สำหรับจับมีดกลึงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีดจะมีขนาด 1/4 นิ้ว
- ล้อพิมพ์ลาย(Knurling)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์ลายบนชิ้นงาน เพื่อทำให้จับงานได้มั่นคงและสวยงาม
- มีดกลึงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นมากที่สุด มีดกลึงที่ใช้ทั่วไปทำด้วยวัสดุเหล็กรอบสูง และมีดกลึงที่ทำด้วยวัสดุคาร์ไบด์
- ดอกเจาะนำศูนย์(Center Drill)เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างหนึ่งในงานกลึง เป็นอุปกรณ์เจาะนำรู ทำให้เจาะรูได้ตรงตำแหน่งแม่มยำมากขึ้น
- ดอกสว่าน(Drills) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นที่จำเป็นและจะต้องใช้อย่างมากในงานกลึง มีทั้งสว่านก้านเรียวและสว่านก้านตรง
- รีมเมอร์หรือดอกคว้านละเอียด(Remer) มีทั้งดอกคว้านละเอียดที่ใช้มือคว้านละเอียดและแบบคว้านด้วยเครื่อง
- ดอกตาปและดาย(Tap & Die) ดอกตาปเป็นอุปกรณ์ทำเกลียวใน 1 ชุดประกอบด้วยดอกตาป 3 ดอก จะต้องตาปตามลำดับ
- ตะไบ(Files) เป็นอุปกรณ์อีกชนิดกนึ่งที่ใช้กับเครื่องกลึง ตะไบเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ลดขนาด ตกแต่งพื้นผิวให้เรียบร้อยและยังใช้ลบคมของชิ้นงานเพื่อไม่ให้บาดมือผู้ปฎิบัติงาน ส่วนใหญ่จะใช้ทั้งตะไบหยาบละตะไบละเอียด
เครื่องมือในการกัด
ปากกาจับงาน Viseเป็นอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานที่นิยมใช้กันมากกับเครื่องกัดซึ่งใช้จับยึดชิ้นงานในรูปทรงต่างๆ ได้สะดวก

โต๊ะงานแม่เหล็กเป็นโต๊ะงานที่ใช้จับยึดชิ้นงานที่เป็นเหล็กแผ่นบาง จะจับยึดด้วยแม่เหล็ก

แกนเพลาจับมีดกัดเพลานอนแกนเพลาจับมีดกัด Arbor ยึดติดกับแกนเพลาหัวเครื่องกัด ทาหน้าที่จับยึดมีดกัดพามีดหมุนตัดชิ้นงาน ใช้คู่กับเครื่องกัดเพลานอน Arbor สาหรับจับยึดดอกกัด ใช้คู่กับเครื่องกัดเพลาแกนตั้ง

ดอกกัด Cutterใช้สาหรับกัดขึ้นรูปชิ้นงานตามที่เราต้องการ เช่น กัดเฟือง กัดเกลียว กัดผิวเรียบ กัดร่อง ฯลฯ

หัวแบ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องกัดสามารถใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้ในการจับยึดชิ้นงานเพื่อกัด การหมุนแบ่งชิ้นงานเพื่อกัดเป็นองศาหรือแบ่งออกเป็นส่วนๆ เช่น การกัดฟันเฟืองตรง กัดเฟืองเฉียง

เครื่องมือในการเจียร
- มอเตอร์ (Motor)เป็นต้นกำลังขับล้อหินเจียระไนให้หมุนด้วยความเร็วรอบประมาร 1,500-2,000 รอบต่อนาที โดยมีเพลาต่อออกมาทั้งสองข้างเพื่อยึดล้อหินเจียระไน
- ฝาครอบหินเจียระไน (Wheel Guard)เป็นฝาครอบล้อหินเจียระไนทั้งสองข้างเพื่อป้องกันอันตรายจากล้อหินเจียระไน ส่วนใหญ่ จะทำด้วยเหล็กเหนี่ยวขึ้นรูป
- ล้อหินเจียระไน (Grinding Wheel)จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือล้อหินเจียระไนชนิดหยาบและล้อหินเจียระไนชนิดละเอียด จะยึดติดอยู่ อย่างละข้างของแกนมอเตอร โดยจะมีล้อหินเจียระไนชนิดหยาบ เพื่อเจียระไนหยาบช่วยให้ เจียระไนได้เร็วขึ้น และอีกข้างหนึ่งจะใช้จับยึดล้อหินเจียระไนชนิดละเอียดเพื่อใช้เจียระไนผิว เรียบเพื่อเป็นการเจียระไนขั้นสุดท้าย ในการเลือกใช้ล้อหินเจียระไนจะต้องเลือกล้อหินเจียระไน ให้ตรงกับชนิดวัสดุของมีดตัดที่จะนำมาลับเพราะวัสดุที่มีดตัดมีหลายประเภท เช่น มีดกลึงเหล็กรอบสูง(High Speed Steel)มีดกลึงคาร์ไบด์หรือมืดเล็บ(Carbide Tool)
- แทนรองรับงาน (Tool Rest)ทำหน้าที่รองรับงานหรือเครื่องมือวัดและยังช่วยทำหน้าที่ประคองมือผู้ปฏิบัติงานด้วยส่วนใหญ่ ทำด้วยเหล็กหล่อขึ้นรูปหรือเหล็กเหนียว ควรตรวจสอบระยะห่างอยู่เสมอ ควรมีระยะห่างมากสุด ไม่เกิน 2-3 มม. ถ้ามีระยะห่างมากชิ้นงานอาจจะหลุดลงไปในช่องทำให้เกิดอันตรายได้ล้อหิน เจียระไนอาจจะแตกกระเด็นโดนผู้ปฏิบัติงานในขณะปรับระยะห่างระหว่างแท่นรองรับงานจะต้อง ปิดสวิตซให้ล้อหยุดนิ่งก่อน เมื่อตั้งระยะห่างเรียบร้อย แล้วต้องทำการทดสอบโดยการหมุนด้วย มือก่อนเพื่อป้องกันกรณีล้อหินเจียระไนแกว่งมากระแทกกับแท่นรองรับงาน
- สวิตซ์เครื่อง (Switch)มีไว้เพื่อควบคุมเครื่องเพื่อใช้สำหรับปิด-เปิดในเครื่องเจียระไนเครื่องหนึ่งอาจจะมสวิตซ์ เพิ่มเติมมากขึ้นก็ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน
- ภาชนะใส่น้ำระบายความร้อน (Water Pot)ในขณะที่เจียระไนลับคมตัดมีดตัดชนิดต่างๆหรือเจียระไนชิ้นงานจะมีความร้อนเกิดขึ้นที่มีมีดตัดหรือใช้ชิ้นงานจะทำให้ร้อนมือและจะทำให้โครงสร้างวัสดุของมีดตัดเปลี่ยนไปจำเป็นจะต้องมีการระบายความร้อนโดยการจมลงในน้ำแล้วแกว่งไปมาเพื่อเป็นการระบายความร้อนได้เร็วขึ้น ตัวระบายความร้อนสำหรับเครื่องเจียระไนลับคมตัดนิยมใช้น้ำธรรมดาไม่จำเป็นต้องใช้น้ำหล่อเย็นเพราะจะทำให้ล้อหินเจียระไนทื่อเร็วต้องต่างหน้าล้อหินเจียระไนบ่อยขึ้นทำให้สิ้นเปลือง
- กระจกนิรภัย (Safety Glass)จะติดตั้งไว้ทั้งสองล้อเพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตาผู้ปฏิบัติงานเป็นที่ให้ผู้ปฏิบัติงานมองในขณะลับเครื่องมือตัด
- ฐานเครื่อง (Base)อยู่ส่วนล่างสุดของเครื่องมีหน้าที่รองรับส่วนต่างๆ ของเครื่องทั้งหมด ทำจากเหล็กหล่อใช้ยึดติด กับพื้นหรือโต๊ะ
เครื่องมือในการตัด
- แหล่งกำเนิดแสงไฟเบอร์เลเซอร์ (Fiber Laser Source)แหล่งกำเนิดแสงของเครื่องตัดไฟเบอร์เลเซอร์ ถือเป็นหัวใจหลักของเครื่องเลเซอร์เลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นตัวส่งกำลังความหนาแน่น และความถี่ของเลเซอร์ไปให้หัวตัดเลเซอร์ในการตัดชิ้นงานต่างๆตามที่ต้องการ ซึ่งแหล่งกำเนิดแสงของเครื่องไฟเบอร์เลเซอร์จะมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงกว่า มีอายุการใช้งานที่นานกว่า หรือเรียกอีกอย่างว่า ชั่วโมงในการตัดเลเซอร์นั้นเอง รวมไปถึง ค่าบำรุงรักษาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องตัดเลเซอร์ชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องตัดเลเซอร์ประเภท Co2 เป็นต้น
- หัวตัดเลเซอร์ (Laser Cutting Head)หัวตัดเลเซอร์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดชิ้นงานต่างๆของเครื่องตัดเลเซอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักๆ ดังต่อไปนี้ -Nozzle หัวNozzle นั้นแบ่งได้ เป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ 1. parallel, 2. convergent และ 3. Conical
- มอเตอร์ควบคุมเครื่องเลเซอร์ (Servo Motors)มอเตอร์ควบคุมเครื่องเลเซอร์ ใช้ในการควบคุมความเร็ว และตำแหน่งในการเคลื่อนที่ต่างๆของหัวตัวเลเซอร์ให้มีความแม่นยำ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของตัวเครื่องตัดเลเซอร์ ดังนั้นจึงต้องเลือกมอเตอร์ที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากการตัดงานต่างๆ ต้องอาศัยความแม่นยำ การเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว และระยะการวิ่งกลับไป-มาของหัวตัดเลเซอร์ ถ้าอุปกรณ์ไม่ได้คุณภาพอาจจะส่งผลกระทบต่อชิ้นงานที่ตัดมีขนาดคลาดเคลื่อนได้
- ระบบทำความเย็น (Water Chiller)ระบบทำความเย็น หรือเรียกสั้นๆว่า Chiller ซึ่งเป็นระบบที่ให้ทำความเย็นให้กับหัวตัวเลเซอร์ และแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เนื่องจากในตอนตัดเหล็กด้วยเลเซอร์ หรือตัดชิ้นงานวัสดุอื่นๆนั้นทำให้เกิดความร้อนที่ตัวเครื่องเลเซอร์ รวมไปถึงหัวตัด และแหล่งกำเนิดแสง ถ้ามีอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ประสิทธิในการตัดลดลง หรือเรียกว่า เกิดอาการ over heat ดังนั้นจึงต้องมี chiller ในการควบคุมอุณภูมิให้ต่ำอย่างคงที่ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการตัดเหล็กด้วยเลเซอร์ โดยส่วนมาก เครื่อง chiller ของ S&A เป็นหนึ่งในยี่ห้อที่ได้รับความนิยมสูง
- ระบบตัดด้วยแรงลม (Air Cutting System)เครื่องตัดเลเซอร์ไฟเบอร์ นั้นสามารถตัดเหล็ก หรือวัสดุต่างๆ ได้หลากหลายวิธี โดยการตัดด้วยแรงลม หรือเรียกกว่า Air cut เป็นอีกหนึ่งวิธีในการตัดที่ค่อนข้างประหยัด หรือมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ การตัดด้วยแก๊สชนิดอื่นๆ เช่น ออกซิเจน (O2) ไนโตรเจน (N2) โดยการตัดชนิดนี้จะใช้หลักการ คือการอัดแรงลมจำนวนมากเข้าไปรวมกับลำแสงเลเซอร์เพื่อที่ตัดชิ้นงานต่างๆ ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
- ระบบแก๊สต่างๆ (Gas Cylineders)ระบบแก๊สเป็นอีกหนึ่งระบบที่ใช้ในการตัดเลเซอร์เหล็ก หรือตัดเลเซอร์สแตนเลส รวมถึงวัสดุอื่นๆ โดยการใช้แก๊สออกซิเจน (O2) และไนโตรเจน (N2) ในการตัดชิ้นงานต่างๆ คุณภาพของชิ้นงาน และผิวของงาน ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของชนิดแก๊สในการตัดเหล็ก และขึ้นกับความหนาของวัสดุที่ตัดด้วย ประเภทของแก๊สแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ แบบท่อ หรือ cylinders แบบเหลว หรือ liquid การเลือกใช้แก๊สที่มีความบริสุทธิ์ของแก๊สมากๆ จะทำให้ลดต้นทุนได้ 30-40% เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการตัดเลเซอร์ หรือปริมาณแก๊สที่ต้องใช้ในงานตัดเลเซอร์นั้นๆ
- ตัวเครื่อง (Body)ตัวเครื่องตัดเลเซอร์ หรือ โครงเครื่องตัดเลเซอร์ นั้นถูกแบ่งออกเป็นหลายหลากประเภทขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น แบบโต๊ะเดี่ยว (Flat Bed Machine) และแบบปิด (Cover Machine) เป็นต้น
- ระบบควบคุม (Control system)ระบบควบคุม คือหัวใจหลักในการควบคุมเครื่องตัดเลเซอร์ไฟเบอร์ให้สามารถเคลื่อนที่ใน แกน xyz aixs รวมไปถึงควบคุมแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ด้วย และทำงานร่วมกับโปรแกรม software เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการในการตัดเหล็กด้วยเลเซอร์ได้อย่างแม่นยำ และได้คุณภาพสูงสุด
- เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Stabilizer)เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัติโนมัติ คือ เครื่องช่วยรักษาระดับไฟฟ้าให้มีความเสถียร และคงที่มากที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดไฟลัดวงจร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดชิ้นงานต่างๆของเรา โดยหลักการทำงานของ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัติโนมัติจะถูกเชื่อมกับ power supply system และ แหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่สะดุด
- ระบบดูดควัน (Dust Removal System)หลักการของการตัดเลเซอร์ไฟเบอร์นั้น คือการรวมแสงเลเซอร์ไว้ที่บริเวณพื้นผิวของชิ้นงาน เพื่อให้พื้นผิวบริเวณนั้นเกิดจุดหลอมเลวด้วยลำแสงเซอร์ และแปรสภาพเป็นแก๊ส ดังนั้น ระบบดูดควัน หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า blower ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูดไอร้อน และควันจากการตัดเลเซอร์ในบริเวณนั้น ไม่ให้เกิดสภาวะอากาศเสียมากเกินไป ลดผลกระทบต่อสุขภาพของช่างตัดเลเซอร์ หรือ วิศวกรคุมเครื่องตัดเลเซอร์ไฟเบอร์
การประยุกต์ใช้งานเครื่องจักรกล
ในปัจจุบันมีเทคนิคมากมายสำหรับกระบวนการตัดเฉือน ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องจักรถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การก่อสร้าง วิศวกรรม และการผลิต ผู้ผลิตรถยนต์ต้องการให้ทุกชิ้นส่วนได้รับการตัดเฉือนอย่างแม่นยำเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง ในอุตสาหกรรมน้ำมัน วิศวกรจะให้คำแนะนำการออกแบบและการตัดเฉือนที่เฉพาะเจาะจงมากสำหรับชิ้นส่วนสำหรับปั๊ม ท่อ และอุปกรณ์ช่วยโครงสร้าง ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การตัดเฉือนจะใช้ในการผลิตดอกสว่าน หัวค้อน ชิ้นส่วนเครื่องมืออื่นๆ และชิ้นส่วนขนาดใหญ่ เช่น คานเหล็กโครงสร้างและเหล็กเส้นสำหรับเสาเข็ม
การตัดเฉือนเป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและการผลิต เนื่องจากการตัดเฉือนมีความหลากหลายและแม่นยำมาก จึงช่วยให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องมือที่เหมาะกับความต้องการของพวกเขาได้อย่างแท้จริง
บริษัท สุทอง แมชชีนเนอรี่ จำกัด ดำเนินการธุรกิจนำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมงานโลหะ เครื่อง CNC และ Cobot (Collaborative Robot) ครบวงจร
- สามารถเข้าชมเครื่องจักรได้ที่โชว์รูม สุทอง แมชชีนเนอรี่
- เวลาเปิดทำการ : จันทร์-เสาร์ (8.00-17.00 น.) โทร 02-896-1818
- ติดตามข่าวสารได้ที่แฟนเพจ : Suthong1990