ทำความรู้จักและข้อควรรู้ก่อนการเลือกซื้อเครื่องกลึงยันศูนย์
2022-11-23 15:39:33

เครื่องกลึงยันศูนย์ 


เครื่องกลึงยันศูนย์ ถือเป็นเครื่องจักรที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถทำงานขั้นพื้นฐานได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นงานที่เกี่ยวกับงานผลิต งานซ่อม งานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ จึงต้องมีเครื่องกลึงเป็นตัวหลัก

ทำความรู้จักกับเครื่องกลึง 


เครื่องกลึง (Lathe) เป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญมาก มีใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ยุคต้น ๆ เป็นเครื่องมือกลประเภทแปรรูปโลหะทรงกระบอกเป็นหลัก สำหรับกลึง เจาะ คว้านรูได้มากมาย เพื่อผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ เครื่องจักร เครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ สำหรับงานผลิตและงานซ่อม งานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนต้องมีเครื่องกลึงเป็นเครื่องจักรหลัก เครื่องกลึงจึงได้ชื่อว่าเป็น ราชาเครื่องกล (The King of all Machines) 

ชนิดของเครื่องกลึง

 

เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathe)
เป็นเครื่องกลึงที่มีความเร็วรอบสูง ใช้กลึงงานได้หลายขนาดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ใหญ่เกินไป และกลึงงานได้หลายลักษณะ นิยมใช้ในโรงงานทั่ว ๆไป

เครื่องกลึงเทอร์เรท (Turret Lathe)
เป็นเครื่องกลึงที่มีหัวจับมีดตัดหลายหัว เช่น จับมีดกลึงปากหน้า มีดกลึงปอกมีดกลึงเกลียว จับดอกเจาะยันศูนย์ เป็นต้น ทำให้การกลึงงานที่มีรูปทรงเดียวกันและมีจำนวนมาก ๆได้อย่างรวดเร็ว เช่น การกลึงเกลียว การบู๊ช เป็นต้น

เครื่องกลึงตั้ง (Vertical Lathe)
เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในงานกลึงปอก งานคว้านชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น เสื้อสูบ เป็นต้น

เครื่องกลึงหน้าจาน (Facing Lathe)
เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในการปาดหน้าชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น ล้อรถไฟ เป็นต้น

  

เครื่องกลึงยันศูนย์ คืออะไร?

 
เครื่องกลึงยันศูนย์ หรือ Engine Lathe เป็นเครื่องจักรประเภทหนึ่งที่มีรูปทรงเป็นแนวนอน และมักใช้ในการแปรรูปโลหะสำหรับการกลึงเป็นหลัก เช่น การตัดโลหะ หั่นโลหะ คว้านรู และเครื่องใช้เครื่องมือตัดพิเศษเพื่อสร้างรูปร่างที่ต้องการ เพื่อนำไปผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร หรือเครื่องยนต์ที่เป็นกลไกต่าง ๆ จึงเป็นเครื่องจักรที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์

  1. ฐานเครื่อง (Base)

เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของเครื่อง จะอยู่กับพื้นโรงงาน โดยมีฐานรองเครื่องรองรับอยู่ เพื่อสะดวกในการปรับระดับ ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่อง เครื่องขนาดใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อจะทำให้เครื่องมั่นคงไม่สั่นสะเทือน ถ้าเป็นเครื่องขนาดเล็กอาจจะทำด้วยเหล็กเหนียว

 

  1. แท่นเครื่อง (Bed Ways)

เป็นส่วนที่ยึดติดอยู่บนฐานเครื่อง ทำด้วยเหล็กหล่อ ทำหน้าที่รองรับชุดหัวเครื่อง ชุดท้ายแท่นและชุดแท่นเลื่อน ที่สันบนแท่นเครื่องจะมีลักษณะเป็นรูปตัววีคว่ำ เพื่อใช้เป็นรางเลื่อนให้ชุดแท่นเลื่อน และชุดท้ายแท่นเลื่อนไปมา

 

  1. ชุดหัวเกียร์ (Head Stock)

หรือหัวเครื่องกลึง อยู่ตรงด้านซ้ายของเครื่อง ภายในประกอบด้วยชุดเฟืองใช้สำหรับปรับเปลี่ยนความเร็วรอบ และเปลี่ยนอัตราป้อนกลึง

 

  1. แกนเพลาเครื่องกลึง (Spindle) 

มีลักษณะเป็นเพลากลมคล้ายท่อ ภายในเป็นรูกลวงด้านหน้า มีบ่าและรูยึดน๊อตสกรู เพื่อให้หัวจับสามารถยึดติดตั้งได้อย่างมั่นคง และมีเรียวมาตรฐานมอสเตเปอร์  ใช้ประกอบกับตัวยันศูนย์ และห่วงพาชิ้นงานหมุน เพื่อใช้งานยันศูนย์ที่หัวเครื่อง กับแท่นยันศูนย์ท้ายเครื่อง แกนเพลาเครื่องกลึงยังใช้ประกอบกับหัวจับแบบต่าง ๆ เช่น สามจับ หรือ สี่จับ และจานพา 

 

  1. แท่นยันศูนย์ (Tail Stock)

อยู่ทางท้ายของแท่นเครื่อง สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้บนแท่นเครื่อง แท่นยันศูนย์สามารถปรับระยะได้บริเวณฐาน เพื่อปรับให้แท่นยันศูนย์ตรงกับศูนย์กลางของหัวจับ

 

  1. ชุดแท่นเลื่อน (Carriage) 

อยู่บนแท่นเครื่องที่ซ้ายขวาบนแท่นเครื่อง เพื่อใช้ในการกลึงปอกงาน สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยมือและอัตโนมัติ

 

  1. แท่นตัดขวาง (Cross Slioss)

จะวางอยู่บนอานม้าสามารถเคลื่อนที่ไปในแนวขวางบนอานม้าเพื่อใช้กลึงปาดหน้า  ด้ายการป้อนด้วยมือหรือป้อนด้ายอัตโนมัติ

 

  1. แท่นเลื่อนบน (Compound Rest)

เป็นชิ้นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นตัดขวางสามารถตั้งองศาเพื่อกลึงเป็นมุมเรียวต่างๆได้ ส่วนบนจะมี Compound Rest หรือ Top Slide อยู่

 

  1. ป้อมมีด (Tool Post) 

ยึดติดอยู่บน Compound Rest เป็นตัวจับยึดด้ามมีดหรือจับยึดมีดกลึงโดยตรงในกรณีใช้มีดกลึงแบบไม่ต้องใช้ด้ามมีดจับยึด คือมีดกลึงมีขนาดตั้งแต่ 3/8 นิ้ว ขึ้นไป ปัจจุบันนิยมใช้ป้อมมีดแบบเทอเรต สามารถจับมีดกลึงได้ทั้ง 4 ด้าน สามารถเปลี่ยนมีดได้เร็ว

 

  1. มอเตอร์ (Motor) 

เป็นตัวส่งกำลังไปยังชุดเฟืองทดเพื่อใช้ส่งกำลังไปตำแหน่งต่าง ๆ มีทั้งใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ  220 โวลต์และ 380 โวลต์

 

  1. ชุดเฟือง

ทดส่งกำลังขับเคลื่อน เป็นชุดที่ส่งกำลังไปยังชุดขับเคลื่อนเพื่อกลึงอัตโนมัติหรือเพื่อกลึงเกลียว

 

  1. แขนโยกปรับความเร็ว

ปรับอุปกรณ์ทีใช้โยกเปลี่ยนเฟืองเพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเปลี่ยนความเร็วรอบ ความเร็วในการป้อนกลึงงาน ทำให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น

 

  1. ระบบป้อน (Feed Mechanism) 

เป็นชุดที่มีความสัมพันธ์กับระบบส่งกำลัง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ ชุดเฟืองป้อน เพลานำ และเพลาป้อน โดยแต่ละชุดจะทำงานสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน

ข้อควรพิจารณาในการซื้อเครื่องกลึงยันศูนย์

1. ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ CNC เทียบกับแบบ manual

เครื่องกลึง CNC (Computer Numerical Control) คือ เครื่องจักรกลที่ทำงานอัตโนมัติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อผลิตชิ้นส่วนวัสดุให้ได้ขนาดและรูปทรงตามที่ต้องการด้วยการกลึง เหมาะสำหรับงานกลึงที่ต้องการความละเอียดหรือมีความซับซ้อนสูง ควบคุมเครื่องกลึงได้หลายเครื่องในครั้งเดียว ถือเป็นข้อดีกว่าเครื่องกลึงระบบ Manual แบบดั้งเดิมนั่นเอง

2. ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ

ส่วนประกอบอื่น ๆ ล้วนส่งผลต่อการใช้งานทั้งนั้น เช่น มีดกลึง มีดกัด ดอกสว่าน ที่ทำจากวัสดุเหล็กรอบสูง จะใช้ความเร็วตัดต่ำกว่า มีดตัดที่ทำจากโลหะแข็ง จึงควรพิจารณาให้ดี เพื่อสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพของเครื่องจักร

3. ขนาดและน้ำหนัก

ควรพิจารณาที่ตัวงานว่าน้ำหนักมักอยู่ที่ใดเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากขนาดของเครื่องจักรกลมีหลายขนาด หากเป็นเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่และเครื่องที่รุ่นใหม่กว่า ก็จะสามารถใช้กลึงงานได้มากกว่า เร็วกว่า ขนาดของหน้าตัดหรือความหนาของเศษโลหะ หากกลึงหรือตัดชิ้นงานในปริมาณน้อยหรือป้อนกินไม่ลึกเกินไป จะใช้ความเร็วตัดได้สูงกว่าการป้อนกินงานครั้งละมาก ๆ

4. กำลัง

สิ่งที่ต้องพิจารณาในเรื่องของกำลังคือ ตัวมอเตอร์ แม้ว่าเครื่องกลึงบางรุ่นจะทำงานด้วยความเร็วเดียว แต่หลายเครื่องจะมีการตั้งค่าความเร็วหลายระดับ และยังมีเรื่องของแรงบิดให้พิจารณา

สำหรับการตัดชิ้นใหญ่ จะต้องการมากกว่าแค่รอบต่อนาทีที่สูง ต้องใช้กำลังเพื่อให้การกลึงและตัดชิ้นงานหนักนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ขายอาจแสดงค่า RPM สูงสุดของเครื่องกลึง แต่ RPM ขั้นต่ำอาจมีความสำคัญมากกว่าสำหรับการทำงาน เช่น การขันสกรู เป็นต้น

5. ราคา

ควรดูลักษณะงานที่ทำว่าต้องใช้งานแบบใดบ้าง มีงานจำนวนมากหรือไม่ หากไม่ได้ต้องทำเยอะมากเกินไปอาจเลือกเครื่องที่เป็นรุ่นรองลงมารับ Load ที่ไม่หนักมาก สามารถใช้งานได้ดี แต่หากมีงบประมาณมากพอการเลือกรุ่นที่มีกำลังเร็วสูงก็ทำให้สามารถได้ดี ทำงานได้เร็วขึ้น คุ้มค่าในระยะยาว

เครื่องกลึงยันศูนย์ เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรที่สำคัญในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีการใช้งานที่ค่อนข้างครอบคลุม มีส่วนประกอบต่าง ๆที่ช่วยให้การทำงานออกมาได้ตามต้องการ การเลือกซื้อเครื่องกลึงต้องมีการพิจารณาถึงการใช้งานเป็นหลัก ควรใช้ระบบอัตโนมัติหรือ Manual ระบบ อุปกรณ์ต่าง ๆ เหมาะกับการนำมาใช้งานหรือไม่ ทางบริษัท สุทอง แมชชีนเนอรี่ จำกัด เป็นผู้นำด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรม นำเข้าและเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายเครื่องจักรโลหะ เครื่องจักรอุตสาหกรรม อุปกรณ์อุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO ผ่านกระบวนการตรวจสอบและประกันคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพจากผู้ผลิต พร้อมมีทีมช่างผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์เพื่อพร้อมให้บริการหลังการขายให้ทั่วประเทศ เรายินดีให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้าโดยทีมผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

 

สุทอง แมชชีนเนอรี่ 
ดำเนินการธุรกิจนำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมงานโลหะ
เครื่อง CNC และ Cobot (Collaborative Robot) ครบวงจร
● สามารถเข้าชมเครื่องจักรได้ที่โชว์รูม สุทอง แมชชีนเนอรี่ 
● เวลาเปิดทำการ : จันทร์-เสาร์ (8.00-17.00 น.) โทร 02-896-1818 
● ติดตามข่าวสารได้ที่แฟนเพจ : https://www.facebook.com/suthong1990