lathe-machine
2022-12-02 13:26:51

ขายเครื่องกลึง (Lathe Machine)

 

การเลือกเครื่องกลึงที่เหมาะสมกับลักษณะงานเป็นหนึ่งในสิ่งที่วิศวกรต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากงานกลึงเป็นกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะ หรือวัสดุต่าง ๆ ที่นำไปประกอบเป็นเครื่องจักรในเชิงอุตสาหกรรม หรือเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน หากผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ออกมาไม่ได้มาตรฐานย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ งานกลึงนั้นมีหลายลักษณะงาน เช่น งานกลึงปาดหน้า, งานกลึงปอกผิว, งานกลึงเกลียว, งานกลึงเรียว, งานกลึงตกร่อง, งานกลึงโค้ง, งานกลึงขึ้นรูป,​ งานกลึงคว้านรู และงานเจาะรู ซึ่งแต่ละงานจะต้องใช้เทคนิคการคำนวณ และการเลือกชนิดของเครื่องกลึงที่แตกต่างกันไป บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับเครื่องกลึงและหลักการทำงานของเครื่องกลึง โดยสุทองแมชชีนเนอรี่ (Suthong Machinery) ผู้นำด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ให้บริการงานขายเครื่องกลึงมามากกว่า 30 ปี

 

ขายเครื่องกลึงทุกชนิด โดยผู้นำด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรม

 

บริษัท สุทอง แมชชีนเนอรี่ จำกัด (SUTHONG MACHINERY CO.,LTD.) ผู้นำด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่มีประสบการณ์ในการดูแลลูกค้ามามากกว่า 30 ปี พร้อมให้บริการงานขายเครื่องกลึงทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น เครื่องกลึงขนาดเล็ก เครื่องกลึงขนาดใหญ่ เครื่องกลึงสองหัว เครื่องกลึงแนวนอน เครื่องกลึงความเร็วสูง หรือเครื่องกลึงชนิดพิเศษอย่าง “เครื่องกลึง CNC” ดูแลโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาการใช้งานเครื่องกลึงโดยเฉพาะ

 

ทำความรู้จักเครื่องกลึง

 

เพื่อให้คุณสามารถซื้อเครื่องกลึงไปใช้งานได้ถูกประเภท เราจะพาไปทำความรู้จักภาพรวมของเครื่องกลึง หลักการทำงาน และชนิดของเครื่องกลึงก่อน

เครื่องกลึงเป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับงานกลึงโดยเฉพาะ สามารถใช้ตัดเฉือนวัสดุต่าง ๆ ทั้งวัสดุที่เป็นโลหะ และวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ เช่น เหล็ก สเตนเลส อะลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง หิน หรือไม้ เป็นต้น เพื่อแปรรูปเป็นชิ้นงานที่ต้องการได้ 

เครื่องกลึงจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้

  • สะพานแท่นเครื่อง (Bed) : ทำหน้าที่รองรับชุดแท่นเลื่อน และชุดศูนย์ท้ายแท่น
  • หัวเครื่อง (Headstock) : จะมีระบบกลไกต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนของหัวจับชิ้นงานหมุน
  • ชุดศูนย์ท้ายแท่น (Tailstock) : ทำหน้าที่ประคองชิ้นงานกลึงที่มีขนาดยาวไม่ให้สั่น หรือใช้จับยึดดอกสว่านเพื่อเจาะรูชิ้นงาน โดยสามารถเลื่อนไปมาบนสะพานแท่นเครื่องได้
  • ชุดแท่นเลื่อน (Carriage) : ทำหน้าที่ยึดเครื่องมือตัด และสามารถเคลื่อนไปมาตามความยาวของสะพานแท่นเครื่องได้
  • ระบบป้อน (Feed Mechanism) : ใช้ในการตั้งค่าอัตราการป้อนเพื่อทำการกลึงอัตโนมัติ หรือใช้ตั้งค่าระยะพิตช์ของเกลียวต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ชุดเฟืองป้อน ชุดเฟืองขับ เพลาป้อน และเพลาเกลียวที่ทำงานร่วมกัน
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกลึง : เป็นเครื่องมือเสริมที่ใช้สำหรับงานกลึง เช่น หัวจับ, จานพา, ห่วงพา, กันสะท้าน, ด้านมีดกลึง, หรือล้อพิมพ์ลาย เป็นต้น

หลักการทำงานของเครื่องกลึง

 

เครื่องกลึงทั่วไปจะทำงานโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะส่งถ่ายกำลังไปยังชุดหัวเครื่องผ่านระบบสายพาน และทำให้เพลางานหมุน โดย “เพลา” เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งกำลังงาน หรือทำให้เกิดการหมุนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันอยู่ในเครื่องกลึงทำงานนั่นเอง

ชนิดของเครื่องกลึง

 

ในปัจจุบันมีการจัดจำหน่ายและขายเครื่องกลึงหลายชนิด หลายแบรนด์ ซึ่งแต่ละชนิดจะเหมาะสำหรับลักษณะงานกลึงที่แตกต่างกันไป เครื่องกลึงจะแบ่งเป็น 5 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้

1.เครื่องกลึงยันศูนย์ท้ายแท่น

เหมาะสำหรับการกลึงงานที่มีขนาดยาวมาก ๆ สามารถกลึงขึ้นรูปงานได้หลายลักษณะ

2.เครื่องกลึงหน้าจาน

เหมาะสำหรับงานกลึงปาดหน้าที่มีขนาดใหญ่ แต่มีความหนาไม่มาก

3.เครื่องกลึงตั้ง

เหมาะสำหรับงานกลึงที่มีขนาดใหญ่ และมีความสูงมาก ๆ

4.เครื่องกลึงป้อมมีดหมุน

เหมาะสำหรับงานกลึงที่ต้องผลิตจำนวนมาก เพราะจะมีป้อมเครื่องมือที่สามารถจับเครื่องมือได้หลายชนิดพร้อมกัน

5.เครื่องกลึง CNC (Computer Numerical Control)

 

เป็นชนิดเครื่องกลึงที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการทำงานของเครื่องจักร เหมาะสำหรับงานกลึงทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น งานกลึงที่ต้องการความละเอียดและความซับซ้อนสูง หรืองานกลึงที่ต้องผลิตชิ้นส่วนจำนวนมาก โดยประเภทของเครื่องกลึง CNC มีดังนี้

  • เครื่องกลึงซีเอนซี (CNC Machine Lathe) : ใช้ขึ้นรูปทรงกระบอก 2 มิติ หรือกัดชิ้นงาน
  • เครื่องกัดซีเอนซี (CNC Milling Machine) : หรือเรียกว่า “แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ ( Machining Center)” ใช้สำหรับกัดชิ้นงาน 3 มิติ
  • เครื่องซีเอนซีอีดีเอ็ม (CNC Electrical Discharge Machine) : ใช้สำหรับกัดชิ้นงาน 3 มิติ โดยใช้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอิเล็คโตรด
  • เครื่องซีเอนซีเจียระไน (CNC Grinding Machine) : ใช้สำหรับงานเจียระไน ให้ได้ผิวงานละเอียด เรียบ และมันวาว
  • เครื่องซีเอนซีตัดแผ่นโลหะ (CNC Sheet Metal Cutting)​ : ใช้สำหรับตัดแผ่นโลหะตามรูปแบบที่ต้องการ
  • เครื่องเจาะซีเอนซี(CNC Drilling Machine) : ใช้สำหรับเจาะรูกลม และทำเกลียว
  • เครื่องเจาะกระแทกซีเอนซี (CNC Punching Machine) : ใช้สำหรับตัดและเจาะแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ
  • เครื่องพับแผ่นโลหะซีเอนซี (CNC Press Brake) : ใช้สำหรับพับแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรง 3 มิติ

ข้อควรพิจารณาก่อนการซื้อเครื่องกลึง

 

จะเห็นได้ว่า เครื่องกลึงแต่ละชนิดจะเหมาะสมกับลักษณะงานกลึงที่แตกต่างกันไป เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องกลึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณควรเลือกซื้อเครื่องกลึงที่เหมาะสมกับงานกลึง ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนและประหยัดเวลาการทำงานได้มาก หากไม่รู้ว่างานกลึงที่ต้องการจะทำเหมาะสมกับการเลือกใช้เครื่องกลึงชนิดใด สามารถขอคำแนะนำจากทีมผู้เชี่ยวชาญของเราเพื่อเลือกเครื่องกลึงที่เหมาะสมกับงานของคุณมากที่สุดได้ การันตีบริการคุณภาพด้วยประสบการณ์การขายเครื่องกลึงมามากกว่า 30 ปี